อิคิไก อิทธิบาท 4 กฎ 20 ไมล์

มีความตั้งใจอยากจะเขียนบล็อก แต่เริ่มไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มเขียนเริ่มเล่ายังไงดี.. คิดได้ก็แต่ชื่อเรื่องที่อยากจะเขียน คือ อิคิไก (Ikigai) อิทธิบาท 4 แล้วก็ กฎ 20 ไมล์ คือ ด้วยความบังเอิญ.. พอดีมีเวลาได้อ่าน 3 เรื่องนี้ในเวลาไล่เลี่ยกัน (คิดว่า) เหมือนมีอะไรที่สอดคล้องกัน ซึ่งอธิบายได้ยาก (แต่อยากเขียน) จะพยายามเขียนบ่น ๆ แบบรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างเหมือนเคย ตอนที่ได้อ่าน 3 เรื่องนี้จบแล้ว รู้สึกว่าเหมือนรู้เรื่องเองเออเอง ว่าจะนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ยังไงบ้างไรงี้.. โดยประมาณนั้น แต่ถ่ายทอดออกมาไม่ได้แบบมันไม่สุด พออ่านจบ นั่งสมาธิ คิดทบทวน เรียบเรียงทำความเข้าใจในหัวใหม่ มันทำให้แนวความคิดของชีวิตและการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป น่าจะไม่มากก็น้อยในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เท่าที่รู้สึกได้จากการลองทำดู! ดีขึ้นหรือป่าวไม่รู้ รู้แต่ว่า เออ… ตื่นมารับแสงอรุณยามเช้าแล้วยิ้มได้แบบมีความสุข(ว่ะ)

อิคิไก (Ikigai) ความหมายของการมีชีวิตอยู่

ก่อนหน้านี้ ไม่เคยได้ยินหรือรู้จักเจ้าคำนี้เลย “อิคิไก” อย่างที่บอกไว้ว่าด้วยความบังเอิญ.. คือได้ไปเดินเล่นงาน ๆ หนึ่งเป็นงานเกี่ยวกับ Digital Marketing แล้วเห็นป้ายเขาเขียนว่า (อะไร? จำไม่ได้ แต่ประมาณว่า) คุณทำธุรกิจที่ใช่เหมาะกับคุณและมีความสุขด้วย? เราจะบอกความลับของ อิคิไก และ Neuro-Linguistic Programming (NLP) ให้กับคุณ เอิ่ม.. ในใจคือ NLP เนี้ยรู้จักเคยอ่านหนังสือมาหลายเล่ม ว่าแต่ อิคิไก เนี๊ยคือไรหว่า?

อิคิไก ikigai อิคิไก ikigai

เข้าร้านหนังสือหามาอ่านซะเลย! เนื้อหาในหนังสือก็จะเขียนวนไปวนมาเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้ชีวิตของคนนั้นคนนี้เป็นเคสไป คือ งง อ่านไม่รู้เรื่อง สุดท้ายสรุปเองได้ความว่า “อิคิไก คือ ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ.. แค่อยากตื่นมาทำสิ่งที่เอ็งอยากทำซะ แค่นี้แมร่งก็สุขแล้วในทุก ๆ วัน” ประมาณนั้นเลย (หนังสือเล่มเล็กนิดเดียว ราคา 299 บาท) แต่เขียนมีหลักการฟังหรู ๆ อยู่ 5 ข้อ ประมาณนี้

อิคิไก มีหลักใหญ่อยู่ 5 ประการ คือ

  1. การเริ่มต้นเล็ก ๆ คือ อยากทำอะไรก็เริ่มทำจากเล็ก ๆ ไม่ต้องคิดใหญ่โตเกินตัว เอาที่ไหวและใจรัก วันหนึ่งมันจะเติบใหญ่เอง
  2. การปลดปล่อยตัวเอง ประมาณว่า ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องคิดเยอะ ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องแข่งกับใคร คือ จดจ่อทำ ๆ ไป แล้วเดี๋ยวมันจะเข้าสู่ “สภาวะลื่นไหล” คือ มีสมาธินั่นแหล่ะ (ชาวพุทธ อาจจะเข้าใจง่ายเรื่องนี้ หากนั่งสมาธิเป็นประจำ) เป็นนิพพาน นำไปสู่ความสุข อยากทำอีกเรื่อย ๆ
  3. ความสอดคล้องและยั่งยืน ประมาณว่า สิ่งที่ทำมันถูกจริตกับเราและเราอยู่กับสิ่งนั้นไปได้นาน ๆ ไม่เบื่อ ไม่เซ็ง ไม่หน่าย ประมาณนั้น
  4. ความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ อันนี้ออกแนวแบบคิดบวก โลกสวย ยกตัวอย่างว่า นั่งมองดอกไม้ดอกหญ้า แล้วแมร่งยิ้มออก มีความสุขได้ หรือ นั่งจิบชา กาแฟ ก็รู้สึกชื่นชม ชื่นชอบ ผ่อนคลาย ประมาณนั้นเลย คือ ไม่ได้ “บ้า” นะ แต่แมร่งกูมีความสุขไง ทุกคนคงเคยมีโมเมนต์นี้ บางทีผมก็เป็น แต่คือทำให้ได้ทุกวันไง โลกสวยทุกวัน คิดบวก ๆ
  5. การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้ ในทางพุทธก็คือ อยู่กะปัจจุบัน นั่นแหล่ะ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น มีความสุขมากขึ้นกับสิ่งที่เป็น สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด.. (กาย วาจา ใจ)

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ไปเจอกราฟวงกลมที่ฝรั่งทำไว้ อืม.. เก่งนะ วิเคราะห์แยกลักษณะออกมาได้ขนาดนี้เลย คือ งง ฮ่าฮ่า เพราะหนังสือก็แค่เล่าเรื่องโน้นนี่เท่านั้น แต่สามารถทำเป็นกราฟลักษณะรวม ๆ ได้ คือ เอาแต่ละเรื่อง แต่ละเหตุการณ์ของแต่ละบุคคลมาแยกย่อยแล้วรวมกัน ประมาณนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทุกคนในหนังสือที่ยกตัวอย่าง ก็ไม่ได้สอดคล้องหรือมีองค์ประกอบทุกข้อตามกราฟนั้นเลย นับถือคนวิเคราะห์และเขียนกราฟนี้(มากกว่า)จริง ๆ เอาว่าหนังสือเขาเน้นหลัก 5 ประการนั่นแหล่ะ

อิทธิบาท 4 – บาทฐานแห่งความสำเร็จ


เป็นที่ทราบกันดี สำหรับชาวพุทธว่า อิทธิบาทนั้น มี 4 ข้อ ดังนี้ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องเตือนใจสำหรับผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ซึ่งหากมี อิทธิบาท ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จสิ่งนั้นได้โดยง่าย และ มีความสุข

  • ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (มีความอยากทำ ชอบสิ่งนั้น ใฝ่เรียนรู้ศึกษาด้วยความชอบ)
  • วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น (มุ่งมั่น บากบั่น อดทน ใฝ่เรียนรู้ศึกษาด้วยความพยายาม)
  • จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น (จดจ่อ สมาธิ สติ)
  • วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น (วิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนาทางปัญญา แก้ปัญหา)

อ่านหนังสืออิคิไกแล้ว ก็เห็นว่าสอดคล้องกับ อิทธิบาท 4 ที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้ สั้น ๆ แต่ได้ใจความมหาศาล และชัดเจนกว่าหลักอิคิไก

กฎ 20 ไมล์ – ความสม่ำเสมอที่นำพามาซึ่งความสำเร็จ

กฎ 20 ไมล์

เป็นเรื่องราวของคนสองคน คือ Scott เป็นคนอังกฤษ กับ Amundsen เป็นคนนอร์เวย์ พวกเขามีความปรารถนาเดียวกัน คือ ต้องการเดินทางพิชิตผจญภัยไปขั้วโลกใต้ ทั้งสองคนอายุพอกัน ประสบการณ์พอกัน ออกเดินทางในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่การวางแผนสำหรับการเดินทางนั้น แตกต่างกัน โดย Amundsen นั้น วางแผนการเดินทางไว้ว่า ไม่ว่าอากาศจะดีมากแค่ไหนหรือเลวร้ายขนาดไหนก็ตาม เขาจะเดินทางแค่วันละ 20 ไมล์ ส่วน Scott นั้น เดินทางเรื่อย ๆ หากวันใดอากาศเลวร้ายมาก เขาและคณะจะไม่ออกเดินทางเลย และถ้าวันไหนที่อากาศดี เขาจะเดินทางให้ได้มากที่สุดเพื่อชดเชยวันที่หยุดพักไม่ได้เดินทาง (อารมณ์เหมือนพวกที่ชอบพูดว่า “เออ อยากทำเดี๋ยวทำเอง กูรู้ว่ากูทำอะไรอยู่ ประมาณนั้นเลย คือ อยากทำเมื่ออยากทำ!”) จนส่งผลให้คณะเดินทางเกิดอาการเหนื่อยล้ามากและท้อ

ในวันที่ 14 ธันวาคม 1911 คณะของ Amundsen ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่พิชิตขั้วโลกใต้ และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 34 วัน คณะของ Scott ได้เดินทางมาถึงและเห็นธงชาตินอร์เวย์ทปักไว้แล้ว

Amundsen และคณะเดินทางกลับไปยัง Framheim ซึ่งเป็น Basecamp และประกาศให้โลกรับรู้ถึงความสำเร็จในวันที่ 25 มกราคม 1912 ส่วน Scott เมื่อระหว่างเดินทางกลับ เขาสูญเสียเพื่อนร่วมทางไปทั้งหมด(ตาย) 5 คน เหลือเพียงเขาคนเดียวที่เดินทางกลับมาในการเดินทางครั้งนี้ น่าเศร้าแท้! เดินทางไปถึงทีหลัง แถมต้องสูญเสียเพื่อนร่วมทางอีก

“You will never change your life until you change something you do daily. The secret of your success is found in your daily routine.” – John C. Maxwell

ทั้ง 3 เรื่องนี้ ผมได้อ่านในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและได้ข้อคิดแง่คิดต่าง ๆ อะไรคือความหมายของชีวิตที่เราอยากจะตื่นเช้าขึ้นมาในทุก ๆ วัน เลยลองนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันแบบง่าย ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง จริง ๆ ก็เป็นคนที่มีจุดหมาย มีเป้าหมายนะ แต่ไม่เคยทำได้สำเร็จแบบสมบูรณ์ ลองเปลี่ยนใหม่ ทำใหม่ คิดใหม่ เมื่อตื่นขึ้นมาในทุก ๆ เช้าของวันใหม่ ทำแบบไม่มีข้ออ้าง สม่ำเสมอ ชอบงานที่ทำ คิดบวก จดจ่อ มีสมาธิ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น อยู่กับมันตลอด ไม่ท้อ เริ่มจากเล็ก ๆ อยู่ตรงนี้ ตอนนี้ อยู่กับปัจจุบัน ก็มีความสุขแล้ว จริง ๆ ชีวิต ไม่ต้องคิดเยอะก็ได้ แต่ก็ไม่ควรไร้สาระไปวัน ๆ ตอนนี้เลิกนั่งกินเหล้าดึก ๆ 4-5 ชั่วโมงได้แล้ว และเอาเวลามาทำสมาธิ วิมังสา นั่งจดบันทึกว่าจะทำสิ่งใดในวันรุ่งขึ้น เป้าหมายก็เห็นชัดมากขึ้นจริง ๆ