สวัสดีครับ

วันนี้นั่งเขียนแผนงานและกำหนดกลยุทธ์ในการทำงานเสียใหม่ เพราะเดิมแผนงานที่ตั้งไว้ยังไม่ดีพอ เมื่อนำมาวัดผลแล้วรู้สึกว่าแย่ไปสักหน่อย ในสายตาผมเอง มองไม่เห็นถึงการพัฒนาใดๆเลย งานที่ผมทำอยู่นั้น ก็มี การทำโฆษณาออนไลน์ผ่าน Pay Per Click Program ต่างๆ และ การสร้างบล็อก เพื่อ Review สินค้า หรือ บริการต่างๆ ให้กับเว็บไซต์ Affiliate ที่ผมเป็นตัวแทนอยู่ เพื่อแลกกับค่า Commission งามๆ ผมกำลังมองให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และโฟกัสเพียงจุดเดียว เพื่อทำให้ลูกค้ามีความประทับใจ และเพิ่ม Profit ให้มากขึ้น

หนึ่งในกลยุทธ์หรือแนวทางการทำงานที่วัดผลได้ ที่ผมใช้อยู่ นั่นก็คือ แนวทางหลักการทำงานโดยใช้หลัก Six Sigma ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วโลกประกอบด้วย 5 ชั้นตอน (DMAIC – ดีมาอิก) ได้แก่

1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target) การกำหนดปัญหาและเป้าหมายอย่างชัดเจน ว่าอะไร ส่วนไหน ที่จำเป็นต้องปรับปรุงและจะปรับปรุงให้ถึงระดับไหน

1.1 หาจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการทำงาน (Process)

– ขนาด/ผลกระทบปัญหา
– ต้นเหตุก่อให้เกิดปัญหา
– เวลาที่เกิดระยะเวลานานเท่าไร

1.2 ศึกษาจากมาตรฐานการทำงาน (Performance Standard)

2. การวัดความสามารถของกระบวนการ (Measure) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เข้าใจสภาพของระบบและกระบวนการที่มี หรือใช้อยู่ ในปัจจุบัน ต้องมีความเข้าใจว่าจะวัดอะไร วัดอย่างไร วัดที่ไหน เมื่อไหร่ จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ หลังจากที่ได้กำหนดประเด็นปัญหาไว้อย่างชัดเจน

1.2 ประเมินปัญหา

2.2 วัดจากระบบปัจจุบัน

2.3 เปรียบเทียบความเห็นของลูกค้าที่รับสินค้าหรือบริการ

3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze) เป็นการเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุในการที่ทำให้เกิดความคาดเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงแบบหลากหลาย( Variability ) ในกระบวนการ และการทดสอบสมมุติฐานเพื่อหาทางขจัดปัญหา

3.1 การวัดทำให้สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ โดยดูจากข้อมูล ประกอบ จัดทำเครื่องวัดข้อบกพร่อง

3.2 ทำการวิเคราะห์จากต้นเหตุ Root Causes

3.3 ชี้ให้เห็นการแปรปรวนของกระบวนการ (Process)

4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve) การพัฒนาหรือการปรับปรุงสมรรถนะและประสิทธิภาพของกระบวนการ เป็นการแสวงหาและพัฒนาวิธี ที่จะนำมาขจัดปัญหา รวมไปถึงการสร้างระเบียบและแผนผังของการจัดการ เพื่อลดปัญหา

5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control) เป็นการพยายามที่จะควบคุมรักษาระดับสมรรถนะของกระบวนการที่ได้รับการปรับปรุงแล้วให้คงอยู่ในระดับที่น่าพอใจตลอดไป

ไม่ว่าจะบริษัทฯ หรือ แม้แต่ตัวคุณเอง ที่กำลังมองหาทางแก้ไขปัญหาเรื้อรังด้านคุณภาพ และปัญหาในเรื่องที่งานคั่งค้างเป็นคอขวดอยู่ตลอดสิ้นเดือน จนทำให้ต้องมีการทำงานนอกเวลาเพิ่มขึ้น อันเป็นเหตุให้เกิดอาการงบประมาณบานปลายตามมา หรือ ต้องมานั่งทำ OT กันให้เหนื่อย กลับบ้านดึกดื่น แล้วล่ะก็แนวทางหลักการนี้อาจช่วยคุณได้!!!

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเริ่มพัฒนาการทำงานของคุณเอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลองนำแนวทางหลักการ Six Sigma นี้ไปปรับใช้ดูกับการทำงานของคุณดูนะครับ