ตั้งใจว่าจะเขียนคำแปลบทสวดมนต์นานแล้วแต่ไม่ว่างเสียที (ข้ออ้าง) ผมเองนับถือศาสนาพุทธครับ แต่ผมสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เคารพใน ไดโงะฮนซน ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นพระญี่ปุ่น

จริงๆ แล้วก็เป็นพุทธนี่ล่ะครับ แต่เป็นฝ่ายมหายาน ไม่ได้เป็นเถรวาท (หินยาน) ที่ต้องออกบวชพระ โกนหัวแบบบ้านเรา หากถามผมว่าผมเป็นมหายานเลยหรือป่าว ใจผมก็หินยานครื่งมหายานครึ่งครับ สำหรับผมแล้วการสวดมนต์ภาษาบาลี หรือ ภาษาญี่ปุ่น ไม่แตกต่างกัน เพราะไม่ทำให้พบพระนิพพานเบื้องหน้า เพียงแต่การสวดมนต์นั้นจักก่อให้เราเกิดขณิกสมาธิ ในสมถสมาธิขั้นต้นเท่านั้นเอง เพื่อให้จิตใจเบิกบาน

ผมสวดมนต์ และสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เพื่อเข้าสู่สมถกรรมฐาน นำสู่ขณิกสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิขั้นต้น เพราะง่ายที่จะนำจิตไปจดจ่อควบคู่กับลมหายใจเท่านั้น หากแล้วเมื่อเข้าสู่ฌาน ในวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ก็จะมีนิมิตอีกแบบแล้ว ต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมไม่รู้ว่าผมสามารถเข้าสู่ฌานระดับใดด้วยซ้ำ แต่รู้ว่าต่างกัน และการสวดมนต์ไม่พบพระนิพพาน หากแต่การทำวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้นที่ทำให้เราเห็นเข้าใจ อริยมรรค 8 มากขึ้น ใช้จิตไตร่ตรองดู เท่านั้นเองที่ผมรู้ ขณะเฝ้าดูจริตของตน

ทีนี้มาดู ที่มาและความหมายของ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว

นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว หรือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร

เราเรียกการสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว (nam myoho renge kyo) ว่า “สวดไดโมขุ (Daimoku)” คำว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เป็นคำสวดตามคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินบนพื้นฐานของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งพระศากยมุนีพุทธะได้ประกาศคำสอนไว้ 8 ปีสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพานและตรัสว่าเป็นคำสอนสูงสุดของพระองค์ สัทธรรมปุณฑริกสูตรเดินทางไปสู่ประเทศจีนตามเส้นทางสายไหมในสมัยโบราณ และมีการแปลพระสูตรเป็นภาษาจีน จากนั้นก็เดินทางเข้าสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ตามลำดับ พระนิชิเร็นไดโชนินได้อ่านอักษรจีนชื่อพระสูตรนี้ว่า เมียว โฮ เร็ง เง เคียว และ ถ้าจะบูชาพระสูตรนี้ก็จะเติม “นัม” หรือ “นามู” ไว้ข้างหน้า จึงเป็น ” นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว

ความหมายของนัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว

“นัม” หมายถึง การอุทิศมอบให้
“เมียว” หมายถึง ทั้งในความหมาย ว่าสมบูรณ์ครบถ้วน และทั้งเร้นลับมหัศจรรย์ หรือเกินกว่าแนวความนึกคิด หรือการสร้างจินตภาพ
“โฮ” หมายถึง ธรรมะหรือกฎ
“เร็งเง” คือ ดอกบัว
“เคียว” คือ พระสูตรหรือคำสอน
ทั้งหมดนี้เรียกรวมว่า “สัทธรรมปุณฑริกสูตร

มาต่อกันด้วย คำแปลบทสวดมนต์ของ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว กันนะครับ

บทสวดมนต์ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว

เมียวโฮเร็งเงเคียว โฮเบ็นพน ไดนี คำแปล: พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร อุปายโกศลปริวรรต (ว่าด้วยกุศโลบาย)

นี จี เซ ซน จู ซัน ไม อัน โจ นี คี โง ชรี ฮตจึ โช บุต ชีเอ ยิน ยิน มู เรียว โง ชี เอ มน นัน เง นัน นิวอิด ไซ โช มน เฮียกุ ชี บุตจึ โช ฟู โน ชี

คำแปล: ณ บัดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธิโดยสงบเรียบร้อย ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า ปัญญาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายลึกซึ้งยิ่งนักหาที่จำกัดมิได้ คำสอนของท่านนั้นยากที่จะเข้าใจและยากที่จะนับถือ ฉะนั้น พระสาวกทั้งหลายและพระปัจเจกโพธิทั้งหลายไม่สามารถเข้าใจ

โช อี ชา งา บุตจึ โซ ชิน งน เฮียกุ เซ็น มัน โนกุ มู ชู โช บุตจึ ยิน เงียว โช บุตจึ มู เรียว โด โฮ ยู เมียว โช ยิน เมียว โช ฟู มน โจ จู ยิน ยิน มี โซ อู โฮ ซุย งี โช เซ็ตจึ อี ชู นัน เง

คำแปล: ด้วยเหตุใดหรือเล่า ก็เพราะพระตถาคตเจ้าเหล่านั้น ได้ร่วมสัมพันธ์กับพระตถาคตเจ้ามีจำนวนร้อยพัน หมื่น โกฏิ อสงขัย นับไม่ถ้วน ปฏิบัติธรรมตามวิถีทางเป็นจำนวนมากมายเหลือที่จะกำหนดได้ ด้วยความพากเพียรและแกล้วกล้าจนเป็นที่รู้กันทั่วสกลพิภพ บำเพ็ญปฏิบัติและรู้แจ้งพระธรรมอันลึกซึ้งหาเปรียบมิได้ คำสอนของท่านเหมาะสมกับสติปัญญาความสามารถของปวงชน แต่ความหมายของพระธรรมนั้นยากที่จะเข้าใจได้

ชรี ฮตจึ โก จู โจ บุตจึ อี ไร ชู จู อิน เน็น ชู จู ฮี ยู โค เอ็น งน เคียว มู ชู โฮ เบ็น อิน โด ชู โจ เรียว รี โช จกุ

คำแปล: ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรว่า ตั้งแต่ตถาคตบรรลุโพธิญาณแล้ว ตถาคตได้อธิบายเหตุผลยกเรื่องเปรียบเทียบและใช้กุศโลบายนานาเหลือที่จะประมาณได้ชักนำให้ชนทั้งหลายหลุดพ้นความยึดมั่นเกาะเกี่ยวทั้งปวงเสียสิ้น

โช อี ชา งา เนียว ไร โฮ เบ็ย ชี เค็น ฮรา มิตจึ ไค อี งู โสะกุ

คำแปล: ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเพียบพร้อมด้วยปัญญา บารมีรู้การณ์ควร และไม่ควร

ชรี ฮตจึ เนียว ไร ชี เค็น โค ได ยิน นน มู เรียว มู เง ริกี มู โช อี เซ็น โจ เง ดัด ซัน ไม ยิน นิว มู ไซ โจ จู อิด ไซ มี โซ อู โฮ

คำแปล: ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรว่า ปัญญาของตถาคตนั้นลึกซึ้งกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขตที่จะกำหนดมิได้ พลังของตถาคตความแกล้วกล้าของตถาคต การภาวนาสมาธิจิตของตถาคต ความเป็นอิสสระเสรีของตถาคต การดำรงจิตใจมั่นคงในฌานสมาบัติของตถาคตเหล่านี้นั้น ได้อำนวยผลให้ตถาคตบรรลุถึงซึ่งความหลุดพ้นไม่มีสิ่งเกาะเกี่ยวร้อยรัด และรู้แจ้งในธรรมอันล้ำเลิศประเสริฐสุดซึ่งไม่เคยมีผู้รู้แจ้งมาก่อน

ชรี ฮตจึ เนียว ไร โน ชู จู ฟุน เบ็ตจึ เงียว เส็ด โช โฮ งน จี นิว นัน เอ็ก คา ชู ชิน

คำแปล: ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรว่า ตถาคตสามารถแจกแจงบรรยายธรรมได้ถ้วนทั่วทุกประการ สามารถประกาศสั่งสอนธรรมแคล่วคล่อง ใช้ถ้อยคำอ่อนโยนสุภาพ เล้าโลมใจปวงชนให้ร่าเริงใจ

ชรี ฮตจึ ชู โย งน ชี มู เรียว มู เฮ็น มี โซ อู โฮ บุด ซิจึ โจ จู

คำแปล: ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรว่า กล่าวโดยแท้แล้วก็คือ ตถาคตได้บรรลุรู้แจ้งในธรรมอันล้ำเลิศประเสรฐสุด อันหาขอบเขตมิได้ อันหาที่เปรียบเทียบมิได้

ชี ชรี ฮตจึ ฟู ชู บู เซ็ตจึ โช อี ชา งา บุด โช โจ จู ได อิชี เค อู นัน เง ชี โฮ ยุย บุตจึ โย บุตจึ ไน โน คู ยิน โช โฮ จิส โซ

คำแปล: ทรงตรัสแก่พระสารีบุตรว่าป่วยการที่จะกล่าวอันใดอื่นอีก ทำไมหรือเล่า ทั้งนี้ก็เพราะว่าธรรมอันตถาคตรู้แจ้งนั้นล้ำเลิศไม่มีอันใดเทียบได้ และยากที่จะเข้าใจ ในระหว่างพระตถาคตเจ้าด้วยกันเท่านั้น จึงจะสามารถหยั่งรู้สภาพตามจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายได้

โช อี โช โฮ เนียว เซ โซ เนียวเซ โช เนียว เซ ไท เนียว เซ ริกี เนียว เซ ซา เนียว เซ อิน เนียว เซ เอ็น เนียว เซ คา เนียว เซ โฮ เนียว เซ ฮอน มา คู เคียว โท

คำแปล: กล่าวคือ สรรพสิ่งทั้งหลายมีรูป มีสาระ (เช่นอุปนิสัย) มีอัตภาพตัวตน มีพลัง มีกิจกรรม มีต้นเหตุ มีสื่อสัมพันธ์กับเหตุ มีผล มีผลสำแดง มีความสอดคล้องตั้งแต่ต้นจนปลาย

เมียวโฮเร็งเงเคียว เนียว ไร จู เรียว ฮน ได จู รกกุ
คำแปล: พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร ตถาคตายุษประมาณปริวรรต (ว่าด้วยอายุกาลแห่งพระตถาคต)

จีงาโทกุบุดไร > นับตั้งแต่ตถาคตบรรลุโพธิญาณมา

โชเคียวโชขดชู > จำนวนกัปป์ที่ได้ผ่านมา

มูเรียวเฮียกุเซ็นมัน > มีจำนวนไม่จำกัดร้อยพันหมื่น

โอะกุไซอาโซงี > โกฏิอสงขัย

โจเส็บโปเคียวเค > ตถาคตเทศนาธรรมและสั่งสอนต่อเนื่องไม่ขาดสาย

มูชูโอะกุชูโจ > สรรพสัตว์จำนวนนับไม่ถ้วนโกฏิ

เรียวนิวโอบุตจึโด > เพื่อให้เข้าสู่พุทธมรรค (วิถีแห่งการบรรลุโพธิญาณ)

นีไรมูเรียวโค > นับแต่กาลนั้นมาเป็นเวลาไม่ถ้วนกัปป์

อีโดชูโจโค > เพื่อที่จะโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์

โฮเบ็นเง็นเนฮัน > ตถาคต ประกาศสอนนิพพานด้วยกุศโลบาย

นีจิตจึฟูเม็ตจึโด > แท้ที่จริงนั้นตถาคตมิได้ดับสูญสภาพ

โจจูชีเส็บโป > แต่จะยังคงเทศนาธรรมอยู่ที่นี่ตลอดไป

งาโจจูโอชี > ตถาคตดำรงอยู่ที่นี่ตลอดไป

อีโชยินซูริกี > ตถาคตใช้สรรพจิตตานุภาพของตถาคต

เรียวเท็นโดชูโจ > เพื่อให้สรรพสัตว์ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ

ซุยงนนีฟูเค็น > แม้ตถาคตอยู่ใกล้ก็ไม่สามารถเห็นตถาคต

ชูเค็นงาเม็ตจึโด > สัตว์ทั้งมวลคิดเห็นว่าตถาคตดับสูญสภาพ

โคคูโยชารี > สักการะบูชาพระธาตุทุกหนแห่ง

เง็นไคเอเร็นโบ > ทุกคนตั้งความใส่ใจปรารถนา

นีโชขัดจึโงชิน > มีใจกระหายตั้งความหวัง

ชูโจคีชินบุกุ > เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีใจเชื่อและเชื่อฟัง

ฉิจีจิคีอีนิวนัน > มีอุปนิสัยสัตย์ซื่อและใจอ่อนน้อม

อิดชินหยกเค็นบุตจึ > เต็มใจปรารถนาจะพบพระพุทธะ

ฟูจีชกุชินเมียว > ไม่เสียดายแม้แต่ชีวิตตนเอง

จีงางิวชูโช > ณ บัดนั้น ตถาคตพร้อมด้วยมวลสังฆบริษัท

คูฉุดจือเรียวจูเซ็น > ก็ปรากฎพร้อมกัน ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ

งาจีโงชูโจ > ณ บัดนั้น ตถาคตบอกแก่สรรพสัตว์

โจไซชีฟูเม็ตจึ > ว่าตถาคตดำรงอยู่ตลอดไปที่นี่

อีโฮเบ็นหลีกโค > ด้วยอานุภาพแห่งกุศโลบาย

เง็นอูเม็ตจึฟูเม็ตจึ > จึงแสดงปรากฎว่าตถาคตทั้งดับสูญสภาพและไม่ดับสูญสภาพ

โยโขะกุอูชูโจ > ถ้าในแดนอันมีสัตว์

คูเงียวชินเงียวชา > มีจิตเคารพและมีศรัทธาปรารถนา

งาบูโอฮีชู > ตถาคตก็จักอยู่ท่ามกลางเขาเหล่านั้นด้วย

อีเช็ตจึ มู โจ โฮ > เพื่อเทศนาสอนพระธรรมอันสูงสุดนี้

เนียวโทฟูมนชี > เธอทั้งหลายผู้มิได้ฟังคำกล่าวนี้

ทันนีงาเม็ตจึโด > ก็กล่าวว่าตถาคตดับสูญสภาพ

งาเค็นโชชูโจ > ตถาคตเล็งเห็นสรรพสัตว์นี้

หมดจึไซโอคูไค > จมอยู่ในห้วงสมุทรแห่งความทุกข์

โคฟูอีเง็นชิน > ฉะนั้น ตถาคตมิได้สำแดงให้ปรากฎเห็น

เรียวโงโชขัดจึโง > แต่ทำให้เขาเหล่านั้น ตั้งความมุ่งหวัง

อินโงชินเร็นโบ > จนเมื่อหัวใจเขาเหล่านั้นปรารถนา

ไนฉุดจืออีเส็บโป > ตถาคตก็ปรากฎตัวสั่งสอนพระธรรม

ยินซูริกีเนียวเซ > ด้วยอานุภาพเหนือสภาพธรรมดาดังนี้

โออาโซงีโค > ตลอดกาลเวลาอสงไขยกัป

โจไซเรียวจูเซ็น > ตถาคตดำรงอยู่ ณ ยอดเขาคิชฌกูฎตลอดกาล

งิวโยโชจูโช > และ ณ ดินแดนอื่นทุกแห่ง

ชูโจเค็นโคยิน > เมื่อสรรพสัตว์เห็นในระยะกาลสิ้นกัปป์

ไดคาโชโชจี > เพลิงไฟกำลังเผาไหม้อยู่

งาชีโดอันนน > ถิ่นแดนของตถาคตสงบ

เท็นนินโจจูมัน > เพียบพร้อมด้วยเทวะและมนุษย์ทั้งหลายอยู่เสมอ

อนรินโชโดขะกุ > สวนอุทยานและเวียงวังปราสาทหลากหลาย

ชูจูโฮโชงน > ประดับด้วยอัญมณีนานาประการ

โฮจูทาเคคา > ต้นไม้วิจิตรอันมีดอกผลอุดม

ชูโจโชยูหละกุ > สรรพสัตว์มาสุขสำราญ ณ ที่นี้

โชเท็นเงียกุเท็นคู > เทวาทั้งมวลเคาะตีกลองทิพย์

โจสัดชูงีงากุ > บรรเลงเพลงอยู่เนืองนิตย์

อูมันดาราเค > โปรยดอกไม้มณฑารพ

ซันบุตจึงิวไดชู > แด่พระพุทธะและมหาสังฆมณฑล

งาโจโดฟูคี > แดนบริสุทธิ์ของตถาคตไม่มีวันเสื่อมสลาย

นีชูเค็นโชยิน > แต่ชนทั้งหลายสิมองว่าเพลิงเผาไหม้สิ้น

อูฟูโชคูโน > ความโศกเศร้า ความตื่นกลัวและความหมองไหม้

เนียวเซฉิดจือจูมัน > ครอบคลุมจิตใจพวกเขาดังนั้นอยู่

เซโชไซชูโจ > บรรดาเหล่าสัตว์ผู้มีบาปเหล่านั้น

อีอะคูโกอินเน็น > โดยเหตุที่มีอกุศกรรม

คาอาโซงีโค > ตลอดมาในอสงไขยกัป

ฟูมนซันโบเมียว > มิเคยได้ฟังคำว่าพระรัตนตรัย

โชอูชูคูโดะกุ > แต่ชนทั้งหลายผู้ประกอบกุศลกรรม

นิววาฉิจีจิคีชา > มีจิตใจนอบน้อมและอุปนิสัยสัตย์ซื่อ

สกไคเค็นงาชิน > เขาทั้งหลายเหล่านี้รู้เห็นว่าตถาคตยังดำรงอยู่

ไซชีนีเส็บโป > สถิต ณ ที่นี้เทศนาสอนพระธรรมอยู่

วกุจีอีชีชู > ในบางคาบบางสมัยแก่สรรพปวงชนเหล่านี้

เซ็ตจึบุตจึจูมูเรียว > ตถาคตสอนว่าชีวิตพระพุทธะนั้นเป็นนิรันดร์

คูไนเค็นบุดชา > สำหรับผู้วิปัสสนากรรมฐานที่ได้พบเห็นพระพุทธะในที่สุดนั้น

อีเซ็ตจึบุตจึนันชี > ตถาคตสอนว่ายากที่จะได้พบเห็นพระพุทธะ

งาชีริกีเนียวเซ > ปัญญานุภาพของตถาคตเป็นดังนี้

เอโคโชมูเรียว > รัศมีแห่งปัญญาของตถาคตฉายไปหาที่สิ้นสุดมิได้

จูเมียวมูชูโค > อายยุกาลของตถาคตนั้นนับไม่ถ้วนกัปป์

คูชูโงโชโทกุ > อันเป็นผลแห่งกรรมที่สะสมไว้นับแต่กาลนาน

เนียวโทอูชีชา > พวกเธอผู้มีปัญญา

โหมะโทชีโชงี > จงอย่าสงสัยในเรื่องนี้เลย (อจินไตย)

โทดันเรียวโยยิน > แต่จงกำจัดความสงสัยให้สิ้นเชิง

บุตจึโงจิบปูโค > คำกล่าวของพระพุทธะนั้นสัตย์จริงไม่เป็นเท็จ

เนียวอีเซ็นโฮเบ็น > เสมือนดังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุศโลบาย

อีจีโอชีโค จิตจึไซนีงนชี > แม้มีชีวิตอยู่ก็ประกาศบอกว่าสิ้นชีวิต

มูโนเสะโคโม > แต่ย่อมมิอาจที่จะกล่าวหาว่าเขาพูดเท็จ

งาหยะกุอีเซบู > ตถาคตก็เช่นกันเป็นบิดาของโลกนี้

คูโชคูเง็นชา > ผู้ที่เยียวยาความทุกข์และความยากเข็ญทั้งมวล

อีบนบูเท็นโด > เพื่อเห็นแก่ชนผู้คิดวิปริตไป

จิตจือไซนีงนเม็ตจึ > แม้ดำรงชีวิตอยู่แท้ๆ ก็กล่าวว่าตถาคตดับสูญสภาพ

อีโจเค็นงาโค > เพราะถ้าเขาพบเห็นตถาคตอยู่เป็นนิตย์

นีโชเคียวชีชิน > เขาก็จักทะนงใจตน

โฮอิจือจกุโงโยกุ > ก็จะประมาทปล่อยตัวตามอารมณ์ ตกอยู่ในกามฉันท์ทั้งห้า (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ 5)

ดาโออะกุโดชู > ตกไปสู่อบายวิถี (นรก เปรต เดรัจฉาน อสูร)

งาโจชีชูโจ > ตถาคตรู้ปวงสรรพสัตว์อยู่

เงียวโดฟูเงียวโด > ผู้ดำเนินอยู่และมิได้ดำเนินอยู่ในวิถีทาง

ซุยโอโชคาโด > ดำเนินตามหลักอันถูกต้องที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์

อีเสะชูจูโฮ > จึงสอนธรรมะตามหลักนั้นนานาประการ

ไมจีซาเซเน็น > ดำริทุกขณะ

อีงาเรียวชูโจ > ว่าทำฉันใดตถาคตจะยังชนทั้งปวง

โถะกุนิวมูโจโด > เข้าสู่วิถีอันยอดเยื่ยมนี้

โสะกุโจจูบุดชิน > และให้บรรลุพุทธภาวะได้โดยพลัน

ทั้งหมดเบื้องต้นก็มีแต่เพียงเท่านี้ เข้าใจแล้วนะครับว่า แท้แล้วก็พุทธเหมือนกัน หาใช่ศาสนาญี่ปุ่นไม่ จะต่างกันก็แค่เรื่องภาษา แล้วไทยพุทธแท้ๆ ของเราที่ชอบติ ที่เรียกตนเองว่าพุทธนั้น สวดบทสวดมนต์ภาษาบาลี สันสกฤต กันได้คล่องแล้ว ดีแล้วหรือไม่? พระพุทธเจ้าสอนให้ดูตัวเองก่อน พิจารณาตนเองก่อน ท่านล่ะ! พิจารณาตนเองดีแล้วหรือยัง? หรือ แท้จริง ท่านนับถือศาสนาพราหมณ์?

ธรรมะปฏิบัติจักเห็นพระนิพพานเบื้องหน้า